วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

The Raft of the "Medusa"



Le Radeau de la Méduse(1819) หรือ La Méduse 
  

หรือชื่ออังกฤษว่า The Raft of the Medusa แปลตรงตัวก็ แพของ(เรือ)เมดูซ่า วาดโดยทีโอเดอร์ เกอริโก้ (Théodore Géricault 1791~ 1824) ศิลปินชาวฝรั่งเศส มีผลงานที่มีชื่อเสียงอยู่ไม่น้อยเช่นกัน รู้จักกันว่าเป็นคนที่ชอบวาดม้ามาก
ในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูปหรือวีดีโอ เมื่อจะมีการถ่ายทอดเหตุการณ์ต่างๆจึงจะกระทำโดยการวาดภาพเป็นส่วนใหญ่ เกอริโก้ได้แรงบัลดาลใจจากเหตุการณ์อันสะเทือนขวัญโลกนี้และใช้เวลากว่า 3 ปีในการวาด เกอริโก้สัมภาษณ์ผู้รอดชีวิต สร้างแพจำลอง ร่างภาพผู้ป่วยในโรงพยาบาล กระทั่งศึกษาศพในห้องเก็บศพเพื่อจะวาดภาพให้สมบูรณ์ที่สุด
ภาพบนผืนผ้าใบขนาดมหึมา (4.71 x 7.16 เมตร) ซึ่งถูกประกาศออกสู่ซาลอนนั้น ตกเป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในแง่การเมืองมากกว่าด้านศิลปะ เกอริโก้จึงนำภาพนี้ไปโชว์ในอังกฤษและได้รับเสียงตอบรับเป็นจำนวน ปัจจุบัน ภาพ"แพของเมดูซ่า"อยู่ที่พิพิธพันธ์รูเบิ้ล
เรือเมดูซ่า เป็นเรือฟรีเกต (เรือทหาร Frigate) ออกเดินทางจากฝรั่งเศสเพื่อมุ่งไปยังเซเนกัลซึ่งเป็นอาณานิคมในขณะนั้นของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 1816 พร้อมกับเรือลูก 3 ลำ บรรทุกทหารและบุคคลมีฐานะทางการเมืองจำนวนหนึ่ง ควบคุมเรือโดยโชมาเลย์ซึ่งเป็นกัปตันเรือมือใหม่ โชมาเลย์ผู้นี้เป็นผู้ดีเก่าที่หนีออกนอกประเทศฝรั่งเศสไประหว่างการปฏิวัติ และเมื่อฝรั่งเศสฟื้นฟูอำนาจกษัตริย์ขึ้นมา ก็ได้รับตำแหน่งกับตันเรือมาอย่างหมาดๆโดยไม่เคยมีประสบการณ์ในการเดินเรือมาก่อนเลย ในภายหลังหนังสือพิมพ์ Correard ได้กล่าวว่าชายผู้นี้แหละที่เป็นสาเหตุแรกสุดของโศกนาฎกรรมของเรือเมดูซ่า

วันที่ 2 กรกฎาคม อีกเพียง 500 กิโลเมตรก่อนถึงจุดหมายปลายทาง เรือเมดูซ่าก็ชนกับหินโสโครกที่แหลมอัลกิน หลังจากพยายามจะพาเรือออกจากหินโสโครกเป็นเวลากว่า 4 วันโดยไม่เกิดผล กับตันโชมาเลย์ก็ตัดสินใจสละเรือและออกคำสั่งให้สร้างแพขนาดใหญ่ขึ้นมา และในวันเดียวกันนั้น แพซึ่งมีเสากระโดงและใบเรือก็เสร็จสิ้น 
ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าแพที่ว่านี่ใหญ่แค่ไหน แต่คาดว่าคงใหญ่ไม่ธรรมดาแน่ เพราะโชมาเลย์สั่งให้ผู้โดยสาร ทหารและลูกเรือจำนวน 149 คนลงแพ ส่วนตนเองและคนสำคัญมีตำแหน่งอื่นๆขึ้นเรือชูชีพ เสบียงอาหารที่มอบให้ 149 คนบนแพมีเพียงบิสกิต 12.5 กิโลและน้ำดื่มกับไวน์หลายถัง และนี่ก็ตือจุดเริ่มต้นของโศกนาฎกรรมเรือเมดูซ่า

วันที่ 6 กรกฎาคม แพถูกเชื่อมกับเรือชูชีพด้วยเชือก โดยกลุ่มเรือชูชีพจะเป็นคนพายเรือเพื่อลากแพไปด้วย แต่เมื่อพบกับพายุ เชือกซึ่งเชื่อมแพและเรือเข้าด้วยกันก็ขาด ทิ้งให้แพซึ่งไม่มีหนทางในการเคลื่อนย้ายใดๆถูกคลื่นพัดพาห่างจากฝั่งไปเรื่อยๆ คลื่นขนาดใหญ่ที่โถมเข้ามาก็พัดเอาคนบนแพหลุดหายไปทีละคนสองคน
ในวันนี้ มีทหารเรือ 3 คนเสียสติกระโดดลงทะเล พอตกค่ำก็เกิดการทะเลาะกันเพื่อแย่งน้ำจนมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม มีคนหลายคนถูกผลักตกน้ำไป

วันที่ 7 กรกฎาคม ในเช้าวันนี้ 65 คนหายไปจากแพและมีศพอยู่บนแพ 7 ศพ หนำซ้ำคนซึ่งวิวาทกันจนเสียสติยังได้ตัดเชือกซึ่งมัดแพเข้าด้วยกันขาด น้ำจึงท่วมขึ้นมาจนถึงหน้าแข้ง อีก 60 กว่าชีวิตที่เหลืออยู่ตกอยู่ในอาการพานิคเพราะความหิวและกระหาย

วันที่ 8 กรกฎาคม เรือชูชีพเดินทางถึงฝั่งโดยปลอดภัย ในขณะที่คนบนแพหิวโหยจนถึงขนาดพยายามเคี้ยวเข็มขัดหนังและเชือก พวกเขาตัดสินใจเอาเนื้อศพมากิน แต่ยังมีสติพอที่จะไม่กินดิบๆ เนื้อถูกนำไปผึ่งแดดก่อนจะกิน

วันที่ 9 กรกฎาคม คนที่ยังรอดชีวิตอยู่เลือกศพที่เน่าน้อยที่สุดเอาไว้เป็นเสบียงและทิ้งที่เหลือลงทะเล แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีการทะเลาะกันเกิดขึ้นอีก คราวนี้เพราะส่วนแบ่งของน้ำดื่ม

วันที่ 10 กรกฎาคม มีคนประมาณ 15 คนทะเลาะกันเพื่อแย่งเนื้อตากแห้ง

วันที่ 12 กรกฎาคม คนเจ็บที่ถูกตัดสินว่าไม่มีทางรอดถูกโยนลงจากแพ ในวันนี้มีผีเสื้อสีขาวบินอยู่เหนือกระโดงแพ ทุกคนจึงคิดว่าชายฝั่งน่าจะอยู่ใกล้ หลายคนตื่นเต้นจนกระโดลงจากแพเพื่อจะว่ายหาฝั่ง แต่ก็ต้องย้อนกลับมาเพราะไม่มีใครมีแรงเหลือพอจะว่ายน้ำไปได้

วันที่ 15 กรกฎาคม หลายคนพยายามฆ่าตัวตาย

วันที่ 17 กรกฎาคม มีเรือปรากฏขึ้นที่เส้นขอบฟ้า แต่ระยะทางไกลเกินไปจนไม่สามารถส่งสัญญาณถึง แม้จะสิ้นหวัง คนที่ยังรอดชีวิตอยู่ก็ดิ้นรนเต็มที่ด้วยการเอาผ้าใบเรือ (ถูกนำมาทำเป็นเต็นท์กันแดดเรียบร้อยแล้ว) มาเขียนตัวอักษรขอความช่วยเหลือ
ในตอนนั้นเอง เรือ"อัลกิสว์"ซึ่งออกมาตามหาพวกเขาผ่านพวกเขาไปในระยะ 3 กิโลโดยไม่มีใครสังเกตุเห็นแพ และในขณะที่เรืออัลกิวส์กำลังจะลับขอบฟ้าไปทิ้งแพให้อยู่ในความสิ้นหวังนั้นเอง คนบนเรือก็สังเกตุเห็นแพและย้อนกลับมารับพวกเขาในที่สุด
ผู้รอดชีวิตที่ถูกช่วยเหลือมาได้ จาก 149 คน เหลือเพียง 15 คนเท่านั้นเอง

ภาพซึ่งเกอริโก้วาด แสดงถึงผู้รอดชีวิตที่ร้องเรียกเรืออากิสว์ ความหวังสุดท้ายซึ่งกำลังจะหายไปจากสายตา
โศกนาฏกรรมของเรือเมดูซ่านี้เกิดจากการเดินเรือที่ผิดพลาดจนทำให้คนมากกว่า 100 คนต้องประสบกับจุดจบอันทารุณ หากความจริงหลายอย่างก็ยังไม่ถูกเปิดเผยเป็นที่แน่ชัด
- เรือเมดูซ่าออกจากท่าเรือไหนของฝรั่งเศส
- เรือลูก 3 ลำในตอนแรก หายไปอยู่ที่ไหน
- เรือชูชีพมีทั้งหมดกี่ลำกันแน่
นอกจากนี้หนังสือพิมพ์ Correard ฉบับที่กล่าวโจมตีกับตันดูโลว่า เดอ โชมาเลย์ว่าเป็นสาเหตุการอับปางของเรือเมดูซ่า ยังถูกสั่งห้ามตีพิมพ์และวางขาย
รูป"The Raft of the Medusa"เองในครั้งแรกก็ถูกพิพิธพันธ์รูเบิ้ลมาซื้อไป แต่เพื่อเก็บให้พ้นจากสายตาสาธารณชนโดยไม่มีการออกโชว์ เกอริโก้จึงเอาภาพตัวเองคืนมาและเดินทางไปยังอังกฤษ


แหล่งที่มา:http://ohx3.exteen.com/20061012/the-raft-of-the-medusa

ประวัติประเทศเยอรมัน



ประวัติศาสตร์ประเทศเยอมัน
เยอรมันในยุคต้น หุบเขานีอันเดอร์ทาล (Neandertal) ตั้งอยู่ใกล้ๆ เมืองดุสเซลดอร์ฟ เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางเมื่อปีพ.ศ. 2399 เนื่องจากมีการค้นพบซากโบราณในบริเวณนี้ มนุษย์นีอันเดอร์ทาลมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาชาวเยอรมันซึ่งมีนิสัยชอบทำสงครามได้รุกรานดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน
           ยุคสงครามโลก กษัตริย์วิลเฮลม์ที่ 2 กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรและหลังจากพ่ายแพ้ เยอรมนีก็เปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ "สาธารณรัฐไวมาร์" แต่ต่อมาในปีพ.ศ. 2476 พรรคนาซีเรืองอำนาจ สาธารณรัฐไวมาร์จึงสิ้นสุด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์(Adolf Hitler) ผู้นำพรรคนาซีดำรงตำแหน่งนายยกรัฐมนตรีโดยมีเป้าหมายที่จะทำให้เยอรมนีมีอำนาจ และสิ่งนี้เองนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2482 สงครามยุติเมื่อ ปีพ.ศ. 2488 ประเทศเยอรมันตกอยู่ในสภาพเสียหายอย่างหนัก
           เยอรมนีถูกแบ่ง หลังสงครามโลกที่ 2 สิ้นสุดลง ในปีพ.ศ. 2504 กำแพงเบอร์ลินถูกแยกเป็นเยอรมนีตะวันออกและตะวันตก โดยเยอรมนีตะวันตก ประเทศนี้ก็ได้สร้างกำแพงเบอร์ลิน พร้อมกับปิดกั้นการคมนาคมภายในเยอรมนีโดยสิ้นเชิงด้วยลวดหนามและ "แนวมรณะ"ซึ่งมีระเบิดฝังอยู่
           พ.ศ. 2532 ได้เกิดการปฏิวัติโดยสันติของพลเมืองในสาธารณรัฐประธิปไตยเยอรมนี ซึ่งมีผลทำให้กระบวนการรวมประเทศเริ่มต้นขึ้น ดังนั้นเยอรมนีตะวันออก จึงต้องเปิดกำแพงเบอร์ลิน และเปิดเขตแดนภายในเยอรมนี ในตอนเย็นวันที่ 9 พ.ย. 2532 ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2533 ก็ได้มีการเลือกตั้งเป็นอิสระในครั้งแรกในเยอรมนีตะวันออก และคืนวันที่ 2 ต.ค. 2533 เวลาเที่ยงคืน สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีจึงสลายตัวไป และนับแต่วันที่ 3 ต.ค. 2533 เป็นต้นมาเยอรมนีก็กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน จากการรวมประเทศ จากวันที่ 3 ต.ค. 2533 อันเป็นวัน "รวมประเทศเยอรมนี" ต่อมาจึงกลายเป็นวันชาติเยอรมนี

The Berlin Wall
  
ประวัติประเทศเยอรมัน
                            สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือเรียกสั้นๆ ว่าเยอรมันหรือเยอรมนี ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ คือเดนมาร์กอยู่ทางเหนือเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสอยู่ทางตะวันตก สวิตเซอร์แลนด์และออสเตรียอยู่ทางใต้ สาธารณรัฐเชคและโปแลนด์อยู่ทางตะวันออก นับเป็นประเทศยุโรปที่มีจำนวนเพื่อนบ้านมากที่สุด
นับตั้งแต่มีการรวมประเทศในปี ค.ศ. 1990 เยอรมันกลายเป็นประเทศสำคัญที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวเชื่อมยุโรปตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน แต่ยังเชื่อมประเทศทางตอนเหนือ คือ กลุ่มสแกนดิเนเวียกับกลุ่มประเทศทางตอนใต้ ซึ่งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอีกด้วย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป เยอรมันจึงเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างประเทศในยุโรปตอนกลางและยุโรปตะวันออก ยิ่งกว่านั้นการที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ยังทำให้เยอรมันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการท่องเที่ยวแถบนี้
                         เยอรมันมีพื้นที่ประมาณ 357,000 ตารางกิโลเมตร พรมแดนทางตอนเหนือของประเทศติดกับฝั่งทะเลเหนือ (North Sea) และทะเลบัลติค ทางตอนใต้จรดเทือกเขาแอลป์ในบาวาเรียน ระยะทางส่วนที่ยาวที่สุดจากเหนือจรดใต้ประมาณ 876 กิโลเมตร จากตะวันตกไปตะวันออกประมาณ 640 กิโลเมตร ภูมิประเทศของเยอรมันมีทิวทัศน์งดงามแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ ทั้งเทือกเขาสูงต่ำสลับกับที่ราบสูงและพื้นที่ลดหลั่นเป็นชั้น เนินเขาทะเลสาบตลอดจนที่ราบโล่งกว้างใหญ่ ทางตอนเหนือเป็นแนวชายฝั่งทะเลเต็มไปด้วยเกาะแก่ง ทะเลสาบ ท้องทุ่งที่มีพุ่มไม้ปกคลุม เนินทราย และบริเวณปากแม่น้ำที่สวยงาม ส่วนทางตอนใต้แถบที่ราบสูงชวาเบียน-บาวา เรียงเต็มไปด้วยเนินเขาและทะเลสาบขนาดใหญ่ มีบริเวณครอบคลุมถึงเทือกเขาแอลป์ในส่วนของเยอรมัน





ลักษณะภูมิอากาศและฤดูกาล
ลักษณะอากาศของเยอรมันเป็นแบบค่อนข้างไปทางหนาวเย็น มี 4 ฤดู คือ
ฤดูร้อน (มิถุนายน  สิงหาคม) อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส แต่อาจจะสูงขึ้นถึง 30 องศา หรือสูงกว่า
ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน  พฤศจิกายน) อากาศจะเย็นลงและมีฝน ใบไม้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองบ้าง สีแดงบ้างดูสวยงาม
ฤดูหนาว (ธันวาคม  กุมภาพันธ์) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 5 องศา ถึง ลบ 5 องศาเซลเซียส โดยจะมีหิมะตกบ้าง
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม  พฤษภาคม) อากาศจะอุ่นขึ้น ดอกไม้เริ่มบานและต้นไม้จะแตกใบอ่อน นำความเขียวขจีกลับมาอีกครั้ง

เวลา             
การแบ่งเวลาของเยอรมันเป็นแบบยุโรปตอนกลาง ซึ่งเวลาจะช้ากว่าประเทศไทย 6 ชม. ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ส่วนในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม เวลาจะช้ากว่าประเทศไทย 5 ชม.

ประชากร             
เยอรมันมีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับสองรองจากรัสเซีย ในจำนวนนี้ 7.3 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพมาจากตุรกี ยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มเข้ามาตั้งแต่ช่วงหลัง ค.ศ.1960 ซึ่งนับมาถึงปัจจุบันก็เป็นรุ่นที่ 2 และ 3 แล้ว
ชาวเยอรมันสืบเชื้อสายมาจากเผ่าพันธุ์เยอรมันดั้งเดิมหลายเผ่า เช่น เผ่าซัคเซน และบาวาเรียน ซึ่งปัจจุบันเราจะไม่เห็นความแตกต่างนี้แล้ว แต่ยังมีคนเยอรมันบางกลุ่มที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมและพูดภาษาเผ่าดั้งเดิมของตน โดยใช้เป็นภาษาถิ่นต่างๆ กันไป การหลั่งไหลเข้ามาของชาวต่างชาติก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเมืองใหญ่ๆ
เยอรมันเป็นสังคมเปิด กล่าวคือ ยอมรับผู้คนซึ่งอพยพเข้ามาหาที่หลบภัยและผู้อพยพหนีสงคราม การให้มีการเปิดเสรีสำหรับผู้ใช้แรงงาน การเป็นกลุ่มผู้นำ ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการประกอบอาชีพและเลือกถิ่นที่อยู่ภายในสหภาพยุโรป


ศาสนา         
ชาวเยอรมันกว่า 55 ล้านคนนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่างๆ โดยมีนิกายโปแตสแตนท์ มีผู้นับถือประมาณ 27.6 ล้านคน นิกายโรมันคาทอลิก 27.5 ล้านคน เยอรมันไม่มีศาสนาประจำชาติ การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน ทำให้มีชุมชนที่นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลาม ซึ่งมีผู้นับถือศาสนาอิสลามในเยอรมันประมาณ 2.6 ล้านคน จาก 41 ชาติทั่วโลก นอกจากนั้นก็มีผู้นับถือศาสนายิว ฮินดู และพุทธ

ระบบการเมือง    
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อระบบเผด็จการนาซีล่มสลาย มีการแบ่งเยอรมันออกเป็น 2 ประเทศในปี ค.ศ.1949 คือ เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก (ซึ่งประเทศทั้ง 2 ได้รวมเป็นเอกภาพเมื่อปี ค.ศ. 1990) ประกอบด้วยประธานาธิบดีสหพันธ์ (President) มีรัฐสภาซึ่งแบ่งเป็น สภาสูง (Bundestag) และสภาล่าง (Bundesrat) หัวหน้ารัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี (Chancellor) สิ่งที่น่าภาคภูมิใจในรัฐธรรมนูญเยอรมันก็คือ การระบุความสำคัญของสิทธิพื้นฐาน คนเยอรมันนับถือในเกียรติของความเป็นมนุษย์ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเยอรมันไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็ตามสามารถเรียกร้องสิทธิพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในทรัพย์สิน และเสรีภาพทางหนังสือพิมพ์ การเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนแขนงต่างๆ จะทำได้โดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เยอรมันเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและการออกเงินตราของสหภาพยุโรป และเป็นสมาชิกขององค์กรนาโต้ (NATO) ในปี ค.ศ. 1990 เยอรมันตะวันออกซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน และปกครองแบบสังคมนิยมได้รวมประเทศเข้ากับเยอรมันตะวันตกกลายเป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในปัจจุบัน
การ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประกอบด้วย 16 รัฐ คือ บาเดน-เวือร์เทมแบร์ก บาวาเรีย เบอร์ลิน บรันเดนบวร์ก เบรเมน ฮัมบวร์ก เฮลเซน นีเดอร์ซัคเซน เมคเคลนบวร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน ไรน์ลันฟัลส์ ซาร์ลันด์ ซัคเซน ซัคเซน-อันฮัลท์ ชเลสวิก-โฮลชไตน์ และเธือริงเงน แต่ละรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง โดยสภาผู้แทนแห่งรัฐมาจากการได้รับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคต่างๆ ในรัฐนั้นๆ และสามารถออกกฎหมายใช้เองภายในรัฐได้ เช่น ระบบการศึกษารวมถึงระดับอุดมศึกษาอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของแต่ละรัฐ
 
Neuschwanstein ปราสาทซินเดอเรลล่า - เยอรมัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

Post-modern


โพสต์ โมเดิร์น “หลังสมัยใหม่” ในภาษาอังกฤษคือ post-modern หรือบ้างก็เขียนว่า postmodern หรือ ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism, โพสต์โมเดิร์นนิสม์)

เป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ “อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน” (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)

ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ “คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์” (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ “หลังสมัยใหม่” เอาไว้ว่า “คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น “ลูกผสม” แทนที่จะ “บริสุทธิ์”, “ประนีประนอม” แทนที่จะ “สะอาดหมดจด”, “คลุมเครือ” แทนที่จะ “จะแจ้ง”, “วิปริต” พอๆกับที่ “น่าสนใจ”

ในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ “หลังสมัยใหม่” ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)

Ihab Hassan ได้ให้คำจำกัดความ “หลังสมัยใหม่” ว่าเป็น “ยุคที่ไม่สามารถกำหนดได้” ซึ่งเขาหมายถึง “อาณาบริเวณที่วาทกรรม (discourse)” ต่างๆ ทำหน้าที่ของมัน โดยที่ความหลากหลายของแนวคิด (concept) จะช่วยให้เราตระหนักถึง “รหัส” (sign) ที่อยู่รอบๆ ตัวของเรา โดยเฉพาะที่ปรากฏอยู่ในภาษา (language) Hassan ได้พยายามรวบรวม “ลักษณะ” ของแนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ที่ปรากฏอยู่ในงานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน ภาษาศาสตร์ ทฤษฎีวรรณกรรม ปรัชญา มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ ตลอดจนเทววิทยา จากนักคิด       นักเขียนหลายๆ กลุ่มทั้งจากยุโรป และอเมริกา โดยทำการเปรียบกับรูปแบบที่ปรากฏในงานของสมัยใหม่นิยม จากการรวบรวมของ Hassan แนวคิดของหลังสมัยใหม่ มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดจากสมัยใหม่ ดังนี้

เปรียบเทียบสภาวะสมัยใหม่กับสภาวะหลังสมัยใหม่ตามแนวคิดของ Hassan ดังนี้
Modern (สมัยใหม่)                    Postmodern (หลังสมัยใหม่)    
Unity (ความเป็นหนึ่ง)                 Difference (ความแตกต่าง)    
Absolute (ความสัมบูรณ์)            Relative (ความสัมพัทธ์)    
Continuity  (ความต่อเนื่อง)        Discontinuity (ความไม่ต่อเนื่อง)    
Stability (ความมั่นคง)                Dispersion (การกระจัดกระจาย)    
Order (ระเบียบ)                        Disorder/chaos (ไร้ระเบียบ)  

จากการเปรียบเทียบตามแนวคิดของ Hassan ดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ลักษณะของหลังสมัยใหม่มีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นลักษณะของความแตกต่าง, เป็นลักษณะของความสัมพัทธ์, เป็นลักษณะของความไม่ต่อเนื่อง, เป็นลักษณะของการกระจัดกระจายและเป็นลักษณะของความไร้ระเบียบนั้นเอง

post modern art

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

Cholthicha Sartnaratorn
HT325 ศิลปะวัฒนะธรรมตะวันตกเพื่อการนำเที่ยว
ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555
คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์